GreedisGoods » Business » PM Theory of Leadership ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น

PM Theory of Leadership ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น

by Kris Piroj
ทฤษฎีผู้นำแบบญี่ปุ่น PM Theory

PM Theory คืออะไร?

ทฤษฎีผู้นำแบบญี่ปุ่น หรือ Japanese PM Theory of Leadership คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำ (Leadership Theory) ที่จะอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้นำด้วยการแบ่งประเภทผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งงาน (Performance) และผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Maintenance)

โดย PM Theory of Leadership หรือ ทฤษฎี PM เป็นผลงานวิจัยของ Jyuji Misumi และ Mark F. Peterson ในชื่อ The Performance-Maintenance (PM) Theory of Leadership: Review of a Japanese Research Program ซึ่งเป็นผลการวิจัยการทำงานของผู้นำในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1985 ใน Administrative Science Quarterly

ซึ่งงานวิจัยของ Jyuji Misumi และ Mark F. Peterson ได้อธิบายลักษณะของการทำงานของผู้นำในประเทศญี่ปุ่น เป็น 2 รูปแบบ คื Performance และ Maintenance

  • P ย่อมาจาก Performance คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งงาน
  • M ย่อมาจาก Maintenance คือ ผู้นำที่มีมุ่งความสัมพันธ์

จะเห็นว่า PM Theory มีการแบ่งพฤติกรรมเป็น 2 ประเภทคล้ายกับทฤษฎีภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (The Ohio State Framework)


Performance

P ของ PM Theory of Leadership ย่อมาจาก Performance หมายถึง พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งความสำเร็จ เป็นผู้นำประเภทที่ต้องการทำงานให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้

ผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบ Performance หรือ P จะเป็นลักษณะผู้นำแบบชาติตะวันตกที่จะมุ่งเน้นในความสำเร็จของงาน ต้องการความสำเร็จและความชัดเจน มีการโต้แย้งที่เผชิญหน้ากันเมื่อเกิดปัญหาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการเผชิญหน้าและการโต้เถียงในเรื่องงาน แต่ผู้นำประเภท Performance จะแยกเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัวชัดเจน

การสื่อสารของผู้นำในลักษณะนี้จะเป็นการสื่อสารแบบบนลงล่าง (Top-down)

Maintenance

M ของ PM Theory ย่อมาจาก Maintenance หมายถึง พฤติกรรมผู้นำที่มุ่งรักษาความสัมพันธ์ของพนักงงานในกลุ่มหรือทีม

ผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบ Maintenance จะเน้นความสัมพันธ์ของกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีมีผลต่อการทำงานในระยาว มีผลต่อความสำเร็จและประสิทธิภาพของการทำงานของทีม

ผู้นำแบบ Maintenance จะเป็นผู้นำที่หลีกเลี่ยงการโต้แย้งแบบเผชิญหน้า ในการทำงานจะเน้นทำงานเป็นกลุ่มมีเรื่องอะไรต้องปรึกษากันก่อน ทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ ต้องผ่านความคิดเห็นของกลุ่มก่อน ในทางกลับกันด้วยการที่เป็นผู้นำที่มีลักษณะมุ่งความสัมพันธ์และเลี่ยงการโต้แย้งและการเผชิญหน้า เป็นเพราะผู้นำแบบ Maintenance มักจะไม่สามารถแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงานได้

การสื่อสารของผู้นำแบบมุ่งรักษาความสัมพันธ์จะเป็นแบบทั้งบนลงล่างและล่างขึ้นบน รวมถึงเปิดรับความคิดเห็นจากทีม


Source: PM Theory of Leadership

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด