Private Label คือ สินค้าที่ห้างหรือร้านจ้างผลิตแบบ OEM เพื่อนำสินค้าดังกล่าวมาวางขายในห้างสรรพสินค้า อย่างไรก็ตาม Private Label หรือ Private Brand จะไม่ได้ใช้ตราสินค้าของห้างหรือร้านมาติดสินค้าเพื่อขายเหมือนกับสินค้า House Brand แต่จะเป็นการใช้ชื่อแบรนด์อื่น
ตัวอย่างเช่น ร้านขายเครื่องสำอาง ABC-Metic จ้างบริษัทผลิตสินค้า OEM โดยเป็นการผลิตแชมพูเพื่อนำมาวางขายคู่กับแชมพูที่มีอยู่แล้วในตลาด แต่ขายแชมพูดังกล่าวภายใต้แบรนด์ XYZ แทนที่จะใช้แบรนด์ ABC-Metic ที่เป็นชื่อร้าน
สำหรับแบรนด์ Private Label ที่หลายคนน่าจะเคยเห็นอยู่บ้าง ได้แก่ JustBuy ของ Robinson และคุ้มค่าของ Tesco Lotus
ในกรณีที่ร้าน ABC-Metic ขายแชมพูดังกล่าวในชื่อ ABC-Metic เหมือนชื่อร้าน กรณีนี้คือสินค้า House Brand ไม่ใช้ Private Brand หรือ Private Label อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ House Brand คืออะไร?
ด้วยความที่ Private Label กับ House Brand มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยทำให้ตามปกติมักจะเรียกแบบรวม ๆ ไปว่า House Brand หรือ Own Brand แทน
ประโยชน์ของสินค้า Private Label คืออะไร?
สำหรับเหตุผลทีว่าทำไมแบรนด์ห้างหรือร้านค้าปลีกหลายแบรนด์ต้องทำ Private Label ขึ้นมาวางขายไปพร้อมกับสินค้าที่มีอยู่แล้ว ได้แก่:
สินคา Private Label มีต้นทุนต่ำ จากการที่แบรนด์ไม่ได้ตั้งโรงงานขึ้นมาผลิตสินค้าแต่ละชนิดเอง ทำให้แบรนด์สามารถขายสินค้า Private Label ในราคาที่ต่ำกว่าสินค้าแบบเดียวกันของแบรนด์อื่นได้ ในขณะที่มีต้นทุนต่ำกว่าจากการสั่งมากๆ จนทำให้ราคาต่อหน่วยต่ำ และจากการที่ไม่มีต้นทุนในการโฆษณา
สร้างทางเลือกให้กลุ่มลูกค้าที่นิยมสินค้าราคาถูก การตั้งราคาที่ต่ำกว่าและวางสินค้า Private Label ไว้ข้างสินค้าแบรนด์ทั่วไปในตลาด ทำให้ลูกค้าที่นิยมสินค้าราคาถูกเกิดตัวเลือก ในขณะที่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงกับแบรนด์ที่คุณภาพสูงกว่าและแพงกว่า
ใช้ Private Label ทำกำไรทดแทน บางครั้งการนำสินค้าแบรนด์ที่ขายดีจากความนิยมมาตั้งอาจจะทำให้ร้านค้าหรือห้างได้ส่วนแบ่งกำไรที่น้อยลง แต่ก็ต้องนำมาวางขายเพื่อดึงลูกค้า (ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นร้านที่มีสินค้าที่ต้องการขายในสายตาผู้บริโภค)
และจากเหตุผลในข้ออื่นๆ จะเห็นว่าสินค้า Private Label มีกำไรที่ค่อนข้างสูงจากการที่ต้นทุนต่ำ ซึ่งกำไรในส่วนนี้เองจะถูกใช้เป็นกำไรทดแทนในส่วนที่เสียไป