มาดูกันว่า Required Reserve Ratio คือ อะไร ? และ Required Reserve Ratio สำคัญอย่างไรกับธนาคารพานิชย์ !?
ถ้าหากแปลตรงตัว Required Reserve Ratio คือ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำ ซึ่งความหมายแบบง่ายๆ ของอัตราส่วน Required Reserve Ratio ก็คือ กฎของธนาคารกลางในแต่ละประเทศที่จะตั้งไว้ว่า ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บเงินฝากขั้นต่ำไว้ในสัดส่วนเท่าไหร่
โดยเงินจำนวนนี้ที่ ธนาคารพานิชย์ สามารถเลือกได้ว่าจะเก็บสำรองไว้ในรูปเงินสดหรือฝากไว้กับธนาคารกลางก็ได้
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีการกำหนดอัตราสำรองเงินฝากหรือ Required Reserve Ratio (RRR) ไว้ที่ 3%
นั่นหมายความว่าทุกๆ เงินฝาก 100 บาทที่ธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาได้รับ ธนาคารพาณิชย์เหล่านี้จะต้องสำรองเงินฝากได้ 3 บาท
ส่วนที่เหลือจาก 3 บาทที่ถูกหักไว้เป็นเงินสำรองตามกฎ Required Reserve Ratio จะเรียกว่า เงินสำรองส่วนเกิน หรือ Excess Reserve ที่ธนาคารพาณิชย์สามารถนำไปใช้ลงทุน เช่น การปล่อยกู้ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนในตลาดทุน
Required Reserve Ratio มีไว้ทำไม ?
มาถึงตรงนี้ก็ต้องเกิดคำถามว่า จะหักไว้ทำไม 3 บาท หักแล้วเอาไปทำอะไร ? หรือหักไว้แล้วได้ประโยชน์อะไร ?
คำตอบคือ กฎ Required Reserve Ratio (RRR) มีไว้เพื่อลดความรุนแรงจากความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์เกิดขาดสภาพคล่องขึ้นมา หรืออยู่ๆ ผู้ฝากเงินเกิดต้องการถอนเงินเป็นจำนวนมาก
เพราะถ้าหากว่าผู้ฝากอยู่ๆ มาถอนเงินกับธนาคารพร้อมกันเป็นจำนวนมาก แล้วธนาคารไม่มีเงินสำรอง ก็จะไม่สามารถคืนเงินให้กับผู้ฝากได้
เมื่อผู้ฝากไม่ได้เงินฝากคืน ก็จะเกิดความไม่มั่นในธนาคารพาณิชย์ธนาคารดังกล่าว (และแน่นอนว่าเป็นข่าวดัง) และนี่คือตัวอย่างของผลที่ตามมา:
คนอื่นเห็นแล้วไม่มั่นใจเหมือนกัน แห่กันมาถอนบ้างเพราะกลัวไม่ได้เงินคืน >> สถานการณ์ของธนาคารแย่กว่าเดิม (หรืออาจจะล้มไปเลย)
ธนาคารต้องกู้เงินจากธนาคารกลางหรือธนาคารอื่นมาคืน >> ทำให้ธนาคารมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
ธนาคารจำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ที่ได้เข้าไปลงทุนไว้ เพื่อนำเงินมาคืน >> ธนาคารเสียโอกาสในการทำกำไร (หรืออาจจะขาดทุน)
และนี่ก็คือประโยชน์คร่าวๆ ของ Required Reserve Ratio หรือ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำ