SOAR Analysis คืออะไร?
SOAR Analysis คือ เครื่องมือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของธุรกิจที่ใช้สำหรับการวางแผลกลยุทธ์ จาก 4 ปัจจัยภายใน ได้แก่ Strengths, Opportunities, Aspiration, และ Result ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ SOAR Analysis
โดยการวิเคราะห์ SOAR Analysis ในแต่ละปัจจัย มีความหมายดังนี้:
- Strength คือ จุดแข็ง
- Opportunities คือ โอกาส
- Aspiration คือ ความปรารถนาหรือเป้าหมาย
- Result คือ การวัดผลลัพธ์
จะเห็นว่า SOAR Analysis จะมีส่วนที่เหมือนกับการวิเคราะห์ SWOT Analysis คือ Strengths กับ Opportunities (S กับ O) และมีส่วนที่แตกต่างออกไปจาก SWOT Analysis คือ Aspiration กับ Result
Strength
Strength คือ จุดแข็งขององค์กรหรืออะไรก็ตามที่ทำกำลังวิเคราะห์ SOAR Analysis โดย Strength หรือจุดแข็งจะหมายถึงปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่เหนือกว่าองค์กรอื่น เป็นสิ่งที่แตกต่าง และเป็นสิ่งทำให้องค์กรได้เปรียบคู่แข่ง
ตัวอย่างเช่น บริษัทมีนวัตกรรมที่ไม่มีใครเหมือน บริษัทตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือ การที่สูตรการผลิตที่แตกต่างและดีกว่าคู่แข่ง เป็นต้น
โดยด้าน Strength ของ SOAR Analysis จะเหมือนกับ SWOT Analysis
Opportunities
Opportunities คือ โอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก (External Factors) ที่เกิดขึ้นเองอย่างไม่สามารถควบคุมได้ โดยโอกาสจะเป็นเรื่องที่ส่งผลดีต่อองค์กร
อย่างไรก็ตาม Opportunity หรือโอกาสที่ได้มาอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดไปหรือเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ได้ โดยมากจะเกิดขึ้นชั่วคราว (แต่อาจจะนานมากจนไม่ต้องกังวล)
ตัวอย่างเช่น การมีคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอยู่น้อยราย การที่อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบต่ำส่งผลให้ต้นทุนการผลิตราคาต่ำ และ การที่ผู้บริโภคหันมานิยมซื้อสินค้าที่บริษัทขายมากขึ้นจากกระแสที่เกิดขึ้น
Aspiration
Aspiration คือ สิ่งที่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในอนาคตกับองค์กร โดยจะหา Aspiration ได้จากการตั้งคำถามว่า “อะไรคือสิ่งที่ต้องการจะเป็นหรือต้องการสำเร็จในอนาคต”
ตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าหมายในการที่จะต่อยอดจุดแข็งที่มีอยู่ อย่างการพัฒนาสูตรการผลิตที่เหนือกว่าคู่แข่งอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม Aspirations ควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ Vision หรือวิสัยทัศน์ขององค์กร
Result
Result คือ ผลลัพธ์ เป็นสิ่งที่วัดได้หรือจับต้องได้เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า Aspiration หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นจริง ทำหน้าที่เหมือนกับ KPI Result ซึ่ง Result เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจาก Aspiration
หรืออธิบายให้ง่ายกว่านั้นก็คือ อะไรคือสิ่งที่จะใช้วัดว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในส่วนของ Aspiration บรรลุผล
สมมติว่า Aspiration คือการมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นภายใน 1 ปี Result ก็คือเป้าหมายของมูลค่าส่วนแบ่งการตลาดของบริษัท (ตั้งเป้าว่าต้องการเพิ่มขึ้นเท่าไหร่)