GreedisGoods » Business » Stakeholder Mapping คืออะไร? ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Stakeholder Mapping คืออะไร? ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

by Kris Piroj
Stakeholder Mapping คือ ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Stakeholder Mapping คืออะไร?

Stakeholder Mapping คือ การทำแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกระบวนการระบุและจัดหมวดหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามระดับความสนใจ (Interest) และอิทธิพล (Power) ที่มีต่อโครงการ องค์กร หรือปัญหา ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis)

จุดประสงค์ของการทำ Stakeholder Mapping คือ คือการแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มต่าง ๆ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือองค์กรในการตัดสินใจบางอย่าง

ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

วิธีทำ Stakeholder Mapping

ทั้งนี้การทำ Stakeholder Mapping สามารถทำได้ด้วยหลายวิธี โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การระบุและจัดหมวดหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามระดับความสนใจ (Interest) และอิทธิพล (Influence) ต่อโครงการ ซึ่งเครื่องมือที่ได้รับความนิยมคือ Power-Interest Grid (หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Interest-Influence Grid)

การทำ Stakeholder Mapping จะเกิดขึ้นในกระบวนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลังจากที่ผู้วิเคราะห์ระบุได้ว่าในโครงการดังกล่าวมีใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบ้าง และแต่ละฝ่ายเกี่ยวข้องอย่างไรกับโครงการ

ในเบื้องต้นการทำ Stakeholder Analysis จะมีกระบวนการ ดังนี้:

  1. เริ่มจากการระบุว่าในโครงการดังกล่าวมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เป็นใครบ้าง
  2. วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis) แต่ละฝ่ายเกี่ยวข้องกับโครงการอย่างไรบ้าง
  3. ทำ Stakeholder Mapping เพื่อจัดกลุ่มตามความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  4. เมื่อเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบน Stakeholder Mapping ก็จะสามารถเริ่มวางแผนได้ว่าจะมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรตลอดการดำเนินโครงการ

โดย Stakeholder Mapping จะทำให้ผู้วิเคราะห์ทราบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละคนมีระดับความสนใจ (Interest) และอิทธิพล (Power) ต่อโครงการอยู่ในกลุ่มใด

Stakeholder Mapping คือ แผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ ตัวอย่าง
ตัวอย่าง Power-interest Grid ที่ใช้ในการทำ Stakeholder Mapping

เมื่อทราบแล้วว่าระดับความสนใจ (Interest) และอิทธิพล (Power) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นอย่างไร จะทำให้ผู้วิเคราะห์สามารถวางแผนได้ว่าจะมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรตลอดการดำเนินโครงการ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่:

Manage Closely (High Power, High Interest) – กลุ่มที่มีทั้งอำนาจและความสนใจในระดับที่สูง เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดและควรจัดการอย่างใกล้ชิดเพื่อทำให้คนกลุ่มนี้พึงพอใจมากที่สุด เนื่องจากความสำเร็จและความราบรื่นของโครงการได้รับผลจากกลุ่มนี้มากที่สุด

Keep Satisfied (High Power, Low Interest) – กลุ่มที่มีอำนาจในระดับที่สูงแต่ไม่ได้สนใจในโครงการมาก เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องทำให้กลุ่มนี้พึงพอใจ

Keep Informed (Low Power, High Interest) – กลุ่มที่สนใจโครงการในระดับที่สูงแต่มีอำนาจต่ำ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มนี้มักเป็นกลุ่มที่มีประโยชน์อย่างมากเกี่ยวกับเรื่องของรายละเอียดโครงการ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอและพูดคุยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาสำคัญเกิดขึ้น

Monitor (Low Power, Low Interest) – กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ยังไม่สำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากมีอำนาจและความสนใจในระดับต่ำ แต่ควรสังเกตการกลุ่มนี้เอาไว้เนื่องจากมีโอกาสที่จะกลายเป็นอีก 3 กลุ่มได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง