GreedisGoods » Economics » ภาษีความหวาน คืออะไร? ทำความเข้าใจกับภาษีเครื่องดื่มรสหวาน

ภาษีความหวาน คืออะไร? ทำความเข้าใจกับภาษีเครื่องดื่มรสหวาน

by Kris Piroj
ภาษีความหวาน คือ ภาษีเครื่องดื่ม รสหวาน Sugary drink tax ไทย อัตรา

ภาษีความหวาน คืออะไร?

ภาษีความหวาน คือ ภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพสามิตเพื่อกระตุ้นให้คนไทยบริโภคน้ำตาลน้อยลง เพราะน้ำตาลคือสิ่งที่ก่อให้เกิดสารพัดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเหล่านี้อยู่หลายล้านคนและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ภาษีเครื่องดื่มรสหวาน หรือ ภาษีความหวาน (Sugary Drink Tax) ในประเทศไทยบังคับใช้ครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 หลังจากที่ก่อนหน้านี้กรมสรรพสามิตได้มีการเลื่อนการบังคับใช้ออกไป 2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาปรับตัวเหมือนกับการออกมาตรการอื่น ๆ

การมาของภาษีความหวาน มีเป้าหมายในการกระตุ้นให้ผู้ที่ขาดเครื่องดื่มรสหวานไม่ได้มีทางเลือก 2 ทางเลือก นอกจากซื้อต่อไปในราคาที่แพงขึ้น คือ 1) ลดการทานของหวานหันไปพึ่ง Zero Sugar หรือ Low Sugar หรือ 2) เลิกของหวานซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน

ภาษีความหวานที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาของเครื่องดื่มรสหวานสูงขึ้น ถ้าหากยังคงมีระดับน้ำตาลในเครื่องดื่มเท่าเดิม และจะยิ่งเห็นได้ชัดกับเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง

อัตราภาษีเครื่องดื่มรสหวาน

อัตราภาษีความหวาน เป็นภาษีที่จะคำนวณจากปริมาณน้ำตาลต่อ 100 มิลลิลิตร โดยอัตราภาษีความหวานของเครื่องดื่มที่กรมสรรพสามิตใช้จะแบ่งเป็น 4 ระยะ ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มอัตราภาษีในแต่ละระยะ เพื่อให้เวลาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มรสหวานได้ปรับตัว

ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีความหวานที่ประเทศไทยใช้อยู่ในระยะที่ 2 (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 – 31 มีนาคม 2566) โดยอัตราภาษีความหวานในระยะที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้:

  • ต่ำว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 0.1 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 0.3 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 14-18 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • มากกว่า 18 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ระยะที่ 3 (ระหว่าง 1 เมษายน 2566 – 30 กันยายน 2567) อัตราภาษีความหวาน มีรายละเอียดดังนี้:

  • ต่ำว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 0.3 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • 14-18 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ระยะที่ 4 เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป มีอัตราภาษีความหวาน ดังนี้:

  • ต่ำว่า 6 กรัม ไม่ต้องเสียภาษี
  • 6-8 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร
  • 8-10 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร
  • 10-14 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ทั้งนี้ระยะเวลาของการใช้อัตราภาษีความหวานในแต่ละระยะอาจมีการปรับเปลี่ยน (ซึ่งในอดีตมีการยืดเวลามาหลายครั้งแล้ว) แนะนำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มรสหวานติตามอย่างใกล้ชิด

ภาษีความหวาน ทำให้ราคาเครื่องดื่มแพงขึ้นแค่ไหน?

ถ้าถามหาคำตอบแบบชัดเจนต้องบอกว่าเราไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะอัตราภาษีความหวานคำนวณจากปริมาณน้ำตาลต่อ 100 มิลลิลิตร และมีอัตราที่ต่างกันเป็นขั้นบันได รวมถึงแต่ละแบรนด์อาจจะมีการปรับสูตรเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพื่อควบคุมต้นทุนจากภาษี

แต่คำตอบอย่างกว้างคือ ภาษีความหวาน จะทำให้ราคาเครื่องดื่มรสหวานแพงขึ้นประมาณ 2 – 5 บาท (ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและขนาดของเครื่องดื่ม) 

นอกจากนี้ ในฐานะผู้บริโภคยังต้องติดตามต่อไปว่าจะมีเครื่องดื่มไหนปรับสูตรการผลิตด้วยการลดน้ำตาลเพื่อลดต้นทุนหรือไม่ เพราะภาษีในช่วง 10-14 กรัม กับช่วง 14-18 กรัม มีอัตราภาษีความหวานต่างกันถึง 2 บาท

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด