Sunk Cost คือ ต้นทุนจม ซึ่งความหมายของ ต้นทุนจม คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นไปแล้ว (จ่ายไปแล้ว) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ในปัจจุบันต้นทุนที่เสียไปยังไม่ทำให้เกิดกำไร โดยอาจจะต้องรอไปก่อนในระยะเวลาหนึ่งจึงจะเกิดกำไร หรืออย่างแย่ที่สุดคือไม่สามารถทำกำไรจากต้นทุนดังกล่าวได้อีกเลย
ต้นทุนจม (Sunk Cost) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จากการที่เมื่อเลือกลงทุนไปกับสิ่งหนึ่ง ก็จะเสียโอกาสที่จะได้ลงทุนกับสิ่งอื่นๆ
ตัวอย่างเช่น มีเงินทุนอยู่อย่างจำกัดที่ 200,000 บาท ถ้าซื้อเครื่องจักรราคา 180,000 บาท ก็จะไม่สามารถซื้อโรงงานราคา 170,000 บาทได้
ซึ่งถ้าเลือกซื้อเครื่องจักรเงิน 180,000 บาท ก็จะจมไปกับค่าเครื่องจักร จนกว่าจะใช้เครื่องจักรนั้นจนคุ้มต้นทุน ซึ่งอาจจะเป็น 5 ปี หรือ 10 ปี หรือมากกว่านั้นก็ได้
ตัวอย่าง ต้นทุนจม หรือ Sunk Cost
อีกตัวอย่างของ ต้นทุนจม คือ ต้นทุนจม ที่เกิดจากความผิดพลาดในการประมาณการผลิต ซึ่งสามารถเห็นได้บ่อย ๆ
ทำให้ผู้ผลิตกู้เงินจำนวนมากเพื่อนำไปใช้เป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อขาย แต่ไม่สามารถขายได้ด้วยสาเหตุบางอย่าง เช่น สินค้าดังกล่าวหมดกระแส หรือการที่สินค้ากลายเป็นสินค้าตกรุ่น
และเมื่อไม่สามารถขายสินค้าได้ก็ไม่มีเงิน ดังนั้น ผู้ผลิตก็ไม่สามารถคืนทุน เพื่อคืนเงินต้นได้ใช้เป็นต้นทุนในการผลิตมาคืนได้
จากตัวอย่าง เงินลงทุนระหว่างที่ไม่สามารถคืนทุนได้ คือ ต้นทุนจม (Sunk Cost)
โดยสาเหตุที่ผู้ผลิตตัดสินใจผลิตครั้งละมาก ๆ อาจเป็นเพราะหวังว่าการผลิตสินค้าครั้งละมากๆ จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด หรือ Economies of Scale ที่จะทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยเฉลี่ยลดลง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Economies of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาดได้ในบทความ Economies of Scale คืออะไร?