- มูลค่าการส่งออกไทยในเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่าอยู่ที่ 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- การขยายตัวของการส่งออกไทยเดือนกันยายน 2563 หดตัว -6.71%
- มูลค่าการส่งออกไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
- สำหรับมูลค่าการส่งออก 10 เดือนแรกตั้งแต่มกราคม – กันยายน มีมูลค่า 192,372.77 หดตัว -7.26%
ส่งออกไทยเดือนตุลาคม 2563 หดตัวติดลบ -6.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไทยในช่วง 10 เดือนแรกขอองปี 2563 (มกราคม – ตุลาคม) มีมูลค่า 192,372.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหดตัว -7.26%
หมวดหมู่ของสินค้าที่มูลค่าการส่งออกในเดือนตุลาคมขยายตัวได้ดี ยังคงเป็น 3 กลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่องจากเดือนก่อนๆ ได้แก่
- สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง
- สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์
- สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาดเป็นต้นมา
การหดตัวต่อเนื่องของมูลค่าการส่งออกไทยรายเดือนในเดือนตุลาคม 2563 ถือเป็นการหดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 7 หลังจากเดือนกันยายน 2563 การส่งออกไทยหดตัว -3.86%
อย่างไรก็ตาม สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) มองว่าการส่งออกไทยยังคงอยู่ในภาวะฟื้นตัว ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากประเทศต่าง ๆ ทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและการขนส่งซึ่งทำให้ภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
โดยตัวเลขการส่งออกที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
ตลาดส่งออกเดือนตุลาคม 2563
สำหรับตลาดส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2563 ตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก
นอกจากนี้ ตลาดอื่นที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่การค้าชายแดนของไทยโดยเฉพาะประเทศใน CLMV ยังคงได้รับผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัส
ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ 17% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ หม้อแปลงไฟฟ้าฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัว 8.3%
ตลาดเอเชียใต้ กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนที่ 15.6% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ น้ามันสาเร็จรูป เครื่องยนต์สันดาปฯ และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 28.4%
ตลาดอินเดีย กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนที่ 13.7% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาปฯ รถยนต์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 30.5%
ตลาดลาตินอเมริกา กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือนที่ 12.9% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาง อุปกรณ์กึ่งตัวนาฯ โทรทัศน์และส่วนประกอบ และอาหารทะเลแปรรูปฯ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 22.3%
ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 4.2% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และปูนซิเมนต์ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 11.9%
สำหรับตลาดส่งออกที่มูลค่าการส่งออกหดตัว ได้แก่
- ตลาดจีน หดตัว 6.1%
- ตลาดสหภาพยุโรป หดตัว 0.4%
- ตลาดญี่ปุ่น หดตัว 5.3%
- ตลาดอาเซียน หดตัว 27.2%
- ตลาด CLMV หดตัว 17%
- ตลาดตะวันออกกลาง หดตัว 18.1%
- ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัว 2%
- ตลาดทวีปแอฟริกา หดตัว 16.7%