GreedisGoods » Statistics » Weighted Moving Average คืออะไร? และ วิธีคำนวณ WMA

Weighted Moving Average คืออะไร? และ วิธีคำนวณ WMA

by Kris Piroj
Weighted Moving Average คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก WMA

Weighted Moving Average คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก ที่มีการใส่ค่าน้ำหนักของข้อมูลแต่ละตัวตามลำดับความสำคัญของข้อมูล โดย Weighted Moving Average หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) รูปแบบหนึ่งที่พัฒนาต่อยอดมาจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเดิม

โดยการให้น้ำหนัก (Weight) ในการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) จะตั้งขึ้นตามที่ผู้คำนวณต้องการด้วยสัดส่วนที่เป็นช่วงเท่า ๆ กัน เช่น 2 3 4 5 6

ตามปกติในการคำนวณ Weighted Moving Average หรือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก จะให้ข้อมูลตัวที่เป็นปัจจุบันที่สุดได้ค่าน้ำหนักที่มากที่สุดและข้อมูลตัวถัดไปก็จะได้ค่าน้ำหนักที่ลดลงไปตามลำดับ (เพราะเรื่องล่าสุดส่งมากที่สุดกับปัจจุบัน)

เหมือนกับการที่ยอดขายของเดือนที่แล้วย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกับเดือนนี้มากกว่ายอดขายของ 5 เดือนที่แล้ว

วิธีคำนวณ Weighted Moving Average

อย่างที่บอกว่า Weighted Moving Average ต่างจาก Moving Average เพียงแค่เพิ่มค่าน้ำหนักเข้ามา ดังนั้นพื้นฐานของวิธีคำนวณ Weighted Moving Average (WMA) ก็จะต่างจาก Moving Average (MA) ไม่มาก

โดยสามารถคำนวณได้ด้วยสมการ ดังนี้:

Weighted Moving Average = ผลรวมของ(ข้อมูลแต่ละตัว x ค่าน้ำหนัก) ÷ ผลรวมของค่าถ่วงน้ำหนัก

Weighted Moving Average คือ วิธีคำนวณ WMA
ตัวอย่างการหาข้อมูลสำหรับการหา Weighted Moving Average (WMA)

ตัวอย่าง Weighted Moving Average

จากข้อมูลตัวอย่าง จะคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก Weighted Moving Average แบบ 4 เดือน โดยจะหาค่า Weighted Moving Average ของเดือนตุลาคม จะมีค่าถ่วงน้ำหนัก คือ 5 4 3 2 1 ตามลำดับ

จากตัวอย่างพบว่า ข้อมูลที่นำมาใช้ 5 เดือน จะประกอบด้วยยอดขายตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และผลรวมของค่าถ่วงน้ำหนักคือ 15

WMA = [(90,000 x 1) + (50,000 x 2) + (40,000 x 3) + (60,000 x 4)+(70,000 x 5)] ÷ 15

Weighted Moving Average = 60,000 บาท

สรุป ยอดขายที่หาจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) ของเดือนตุลาคม คือ 60,000 บาท

บทความที่เกี่ยวข้อง