หน้าแรก » เศรษฐศาสตร์ » เส้นผลผลิตเท่ากัน คืออะไร? Isoquant Curve ในการผลิตระยะยาว

เส้นผลผลิตเท่ากัน คืออะไร? Isoquant Curve ในการผลิตระยะยาว

บทความโดย safesiri
เส้นผลผลิตเท่ากัน คือ Isoquant Curve คือ การผลิตระยะยาว เศรษฐศาสตร์

เส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant Curve) คือ เส้นที่แสดงการใช้ปัจจัยการผลิต 2 ชนิดในปริมาณที่แตกต่างกันสำหรับการผลิตระยะยาว แต่ทำให้ผลผลิตที่ได้จากการผลิตออกมาเท่ากันตลอดทั้งเส้นผลผลิตเท่ากันไม่ว่าจะปรับปริมาณปัจจัยผลิตไปอยู่ตรงจุดใดบนเส้น

เส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant Curve) ในการผลิตระยะยาว จะประกอบไปด้วยปัจจัยการผลิต 2 ชนิด คือ ปัจจัยทุน (K) และปัจจัยแรงงาน (L)

การผลิตระยะยาว (Production in Long-run) ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การผลิตที่นานพอจะทำให้ในการผลิตทุกปัจจัยการผลิต (ทั้ง K และ L) สามารถปรับเปลี่ยนได้ ตรงข้ามกับการผลิตระยะสั้น (Production in Short-run) ที่ปัจจัยการผลิตจะเปลี่ยนแปลงได้เพียงปัจจัยแรงงาน (L) ซึ่งหลายคนอาจเคยพบตัวอย่างมาก่อนแล้วเมื่อพูดถึง Marginal Product และ Law of Deminishing Returns

กล่าวคือ ไม่ว่าในการผลิตระยะยาวไม่ว่าจะเลือกสัดส่วนการผลิตหรือ ปัจจัยทุน (K) และปัจจัยแรงงาน (L) ตรงจุดไหนที่อยู่บนเส้น Isoquant Curve หรือเส้นผลผลิตเท่ากัน ก็จะได้ผลผลิต (Total Product : TP) ที่เท่ากันเสมอภายในกรอบระยะเวลาหนึ่ง

คำว่า Isoquant เป็นภาษาละตินที่มาจากคำว่า Iso ที่หมายถึง การเท่ากัน และ Quant ที่หมายถึงปริมาณ แปลตรงตัว Isoquant คือ ปริมาณเท่ากัน (Equal Quantity)

Isoquant Curve เกิดขึ้นจากอะไร

เส้น Isoquant Curve เกิดจากการนำสัดส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตทั้ง 2 ชนิด (K และ L) ที่ผลิตแล้วได้ผลผลิตเท่ากันมาวาดเป็นเส้นกราฟ และเมื่อลากแต่ละจุดต่อกันก็จะได้เป็นเส้นผลผลิตเท่ากัน (Insoquant Curve)

ตัวอย่างเช่น ในการผลิตสินค้า A ของบริษัทแห่งหนึ่ง ใช้ปัจจัยการผลิตทั้งปัจจัยทุน (K) และปัจจัยแรงงาน (L) ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตออกมาภายใน 1 วันตามตารางด้านล่าง ดังนี้

เส้นผลผลิตเท่ากัน คือ Isoquant Curve คือ ตัวอย่าง เศรษฐศาสตร์

จากตารางการผลิตจะพบว่าสำหรับการผลิตที่ให้ผลผลิตเท่ากันที่ 28 หน่วย คือ การผลิตสินค้าด้วยสัดส่วนปัจจัยการผลิต ดังนี้

  • 4 เครื่อจักร + 2 แรงงาน (จุด IC1)
  • 1 เครื่องจักร + 10 แรงงาน (จุด IC2)
  • 2 เครื่องจักร + 4 แรงงาน (จุด IC3)

จะเห็นว่าไม่ว่าบริษัท A จะเลือกผลิตด้วยวิธีใดจากทั้ง 3 สัดส่วน ก็จะได้ผลผลิต 28 หน่วยเท่ากัน และเมื่อนำสัดส่วนปัจจัยการผลิตมาเขียนเป็นกราฟที่แสดงสัดส่วนปัจจัยการผลิตตามกราฟด้านล่าง

ประโยชน์ในการทำความเข้าใจ Isoquant Curve คือ ทำให้ผู้ผลิตสามารถเลือกผลิตด้วยสัดส่วนของปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมที่สุด โดยอาจเป็นสัดส่วนที่มีต้นทุนถูกที่สุด หรือเป็นสัดส่วนที่สะดวกที่สุดของผู้ผลิตก็ตาม จากการที่การผลิตด้วยสัดส่วนปัจจัยการผลิตที่ต่างกันก็สามารถทำให้ได้ผลผลิตปริมาณที่ต้องการได้เช่นกัน

จากตัวอย่าง เมื่อทั้ง 3 วิธีให้ผลผลิตได้ในปริมาณเท่ากัน (และสมมติให้บริษัทบังเอิญต้องการผลผลิตวันละ 28 ชิ้น) บริษัทก็จะเลือกวิธีการผลิตที่มีสัดส่วนปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในสถานการณ์ดังกล่าว โดยเปรียบเทียบต้นทุนที่เป็นเงินต่อปัจจัยทุน 1 หน่วย และปัจจัยแรงงาน 1 หน่วย

Isoquant Curve คือ กราฟ เส้นผลผลิตเท่ากัน คือ ตัวอย่าง กราฟ Isoquant Curve Graph Example
ตัวอย่างเส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant Curve)

นอกจากนี้ จากกราฟจะเห็นว่าเส้นผลผลิตเท่ากัน (Isoquant Curve) มีลักษณะโค้งเว้าเข้าหาจุดกำเนิด ซึ่งเป็นผลจากที่ปัจจัยการผลิตทั้ง 2 แบบ ไม่สามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น การที่แรงงาน 1 คนไม่สามารถแทนเครื่องจักรได้ 1 เครื่องได้เสมอไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด