หน้าแรก » การลงทุน » อสังหาริมทรัพย์ คืออะไร? (Real Estate) มีอะไรบ้าง

อสังหาริมทรัพย์ คืออะไร? (Real Estate) มีอะไรบ้าง

บทความโดย safesiri
อสังหาริมทรัพย์ คือ Real Estate คือ หมายถึง

อสังหาริมทรัพย์ คือ สินทรัพย์ถาวรที่เป็นที่เป็นที่ดิน (Land) และสินทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสินทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินในลักษณะที่เป็นการถาวร ตัวอย่างเช่น คอนโดมิเนียม บ้าน อาคารสำนักงาน โรงงาน และทาวน์เฮาส์ เป็นต้น

หากอ้างอิงจาก มาตรา 139 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะอธิบายเอาไว้ว่า “อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”

นอกจากนี้ อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ประเภทที่ดิน (Land) ในที่นี้ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นที่ดินที่เป็นแปลงเพียงอย่างเดียว แต่ที่ดินในที่นี้จะมีความหมายรวมไปถึง ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย กล่าวคือ อสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นที่ดิน (Land) คืออะไรก็ตามที่อยู่บนพื้นดินหรือโลกนั่นเอง

อสังหาริมทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดิน

อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) อีกประเภท คือ สินทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดิน โดยอสังหาริมทรัพย์ประเภทสินทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดิน คือ อสังหาริมทรัพย์ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีที่สุด ซึ่งจะหมายถึงอะไรก็ตามที่ตั้งอยู่บนที่ดิน ตัวอย่างเช่น อาคารพาณิชย์ โรงงาน โรงเรือน บ้าน หอพัก คอนโดมีเนียม โกดัง ทาวน์เฮาส์ และทาวน์โฮมส์

คอนโดมีเนียม คือ กลุ่มห้องที่อยู่ในอาคารเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยที่กลุ่มห้องเหล่านี้จะมีห้องครัว ห้องน้ำ ไปจนถึงทางเข้าออก โดยคอนโดมีเนียม (Condominium) แต่ละห้องจะสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกเป็นส่วนได้

ทาวน์เฮาส์ คือ ตึกที่ปลูกติดต่อกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปโดยจะมีฝาร่วมกัน 1 ด้านขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็นตึกชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้

โรงงาน คือ โรงงานสำหรับการประกอบกิจการในลักษณะของอุตสาหกรรม โดยใช้เครื่องจักรมากกว่า 5 แรงม้า

อาคารพาณิชย์ คือ อาคารที่ใช้สำหรับการค้า หรือโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 5 แรงม้า หรืออาคารที่ก่อสร้างออยู่ห่างทางสาธารณะในระยะไม่เกิน 20 เมตรที่อาจใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้าได้

หอพัก คือ ห้องชุดที่รวมอยู่ในอาคารจะประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัวและห้องน้ำ รวมกันอยู่อยู่ในชั้นเดียวกัน ใช้เพื่อการอยู่อาศัยของบุคคลหรือเปิดให้เช่า

โกดัง คือ สิ่งก่อสร้างสำหรับใช้ประโยชน์ในการเก็บสินค้า ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าผลิตเสร็จ วัตถุดิบ หรือสินค้าระหว่างผลิตก็ได้

นอกจากนี้ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่เป็นสินทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินอาจจะมีมากกว่าที่เราได้อธิบายในบทความนี้ แต่ก็จะอยู่บนเงื่อนไขที่ได้กล่าวถึงในตอนต้น คือ ต้องเป็นสินทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดิน

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้ อสังหาริมทรัพย์ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทของอสังหาริมทรัพย์ตามลักษณะการใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ตาม

  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ได้แก่ บ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ แฟลต อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ได้แก่ อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า สถานีบริกา ศูนย์การค้า โรงแรม ตลาดสด และศูนย์ประชุม
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงาน โกดัง คลังสินค้า และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อน ได้แก่ รีสอร์ต โรงแรมตากอากาศ อาคารชุดบ้านพักตากอากาศ
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตร ได้แก่ ที่นา ไร่ สวน หรือที่ดินที่จัดสรรให้เป็นพื้นที่ทำเกษตรโดยเฉพาะ

“อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์”

ข้อสังเกตที่ง่ายที่สุดของวิธีการแยกว่าอะไรบ้างที่เป็น อสังหาริมทรัพย์ คือ การที่อสังหาริมทรัพย์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (Immovable) และในกรณีที่คุณต้องการทำลายสิ่งที่เป็น อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ก็ไม่สามารถที่จะทำลายได้โดยง่ายเพราะเป็นสิ่งที่มีความมั่นคงแข็งแรง

กล่าวคือ อสังหาริมทรัพย์ ก็คือสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ตั้งอยู่พื้นดินอย่างถาวรนั่นเอง

ในทางกลับกันอีกคำที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินคู่กับคำว่า อสังหาริมทรัพย์ คือคำว่า “สังหาริมทรัพย์” ซึ่งตามมาตรา 140 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้อธิบายไว้ว่า “สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย” ดังนั้นแล้วอะไรที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ก็จะเป็นสังหาริมทรัพย์ โดยรวมไปถึงถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย

นอกจากนี้ ถ้ามีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ในทางกฎหมายจะกำหนดให้ต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเช่นโฉนดที่ดิน เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่มูลค่าสูงทำให้ต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาช่อโกงตามมา

ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก: มาตรา 139 และมาตรา 140 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด