หน้าแรก » เศรษฐศาสตร์ » ต้นทุนค่าเสียโอกาส คืออะไร? และการเปรียบเทียบ Opportunity Cost

ต้นทุนค่าเสียโอกาส คืออะไร? และการเปรียบเทียบ Opportunity Cost

บทความโดย safesiri
ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ Opportunity Cost คือ ต้นทุน ค่าเสียโอกาส คือ อะไร

ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นตามมาเมื่อเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วทำให้ไม่สามารถทำอีกสิ่งหนึ่งได้ หมายความว่าค่าเสียโอกาสเป็นต้นทุนของการเลือก เพราะการเลือกทำสิ่งหนึ่งหมายความว่าจะไม่สามารถทำอีกสิ่งหนึ่งพร้อมกันได้จากการที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด

กล่าวคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เราไม่สามารถทำได้ทุกเรื่องหรือทำได้หลายเรื่องพร้อมกัน

ตัวอย่าง ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือการที่คุณมีเงิน 1 ล้านบาทสำหรับการลงทุน การที่คุณใช้เงินทั้งหมดซื้อหุ้น A ก็จะเสียโอกาสใช้เงินในการซื้อหุ้นอื่น แต่ถ้าใช้เงิน 1 ล้านซื้อหุ้นอื่นก็จะไม่สามารถซื้อหุ้น A ได้ และแม้กระทั่งการแบ่งเงินไปซื้อทั้งหุ้น A และหุ้น B ก็ยังทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการที่ไม่สามารถทำกำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากหุ้นใดหุ้นหนึ่งอีกเช่นกัน

ประโยชน์ของการทำความเข้าใจกับ ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือความเข้าใจในพื้นฐานของการประเมินทางเลือกในการทำอะไรบางอย่างหรือแม้แต่กระทั่งกับการลงทุนเมื่อคุณมีทรัพยากรอยู่จำกัดไม่สามารถทำทุกอย่างได้

จะเห็นว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัญหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะ เงิน แรงงาน หรือเวลา ที่ทำให้เราไม่สามารถทำได้ทุกเรื่องหรือทำได้หลายเรื่องพร้อมกัน ค่าเสียโอกาสจึงเป็นที่มาของเงินตราที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะเราจะไม่เสียเวลาปลูกผักทั้งวันทั้งที่ไม่ถนัดและได้ผลผลิตน้อยกว่าคนที่ถนัด ในขณะที่คุณสามารถทำอย่างอื่นแล้วได้ผลผลิตมากกว่า

ประเภทต้นทุนค่าเสียโอกาส

ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Costs) และต้นทุนแฝง (Implicit Costs)

ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Costs) คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นต้นทุนที่อยู่ในรูปของตัวเงิน เป็นต้นทุนที่เป็นผลมาจากการชำระเงินค่าปัจจัยการผลิต การเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้เงินทำอย่างอื่น

ต้นทุนแฝง (Implicit Costs) คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ไม่ทำให้เห็นเป็นตัวเงินได้และไม่สามารถวัดเป็นเงินได้ แต่เป็นต้นทุนที่ค่าเสียโอกาสที่ทำให้เราไม่ได้รับผลประโยชน์บางอย่างที่เราอาจจะได้รับจากการเลือกทางเลือกอื่น

การเปรียบเทียบต้นทุนค่าเสียโอกาส

การเปรียบเทียนต้นทุนค่าเสียโอกาสคือสิ่งที่ใช้สำหรับการประเมินทางเลือก เพื่อหาทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจในการเปรียบเทียบต้นทุนค่าเสียโอกาส สมมติว่า มีนายแดงกับนายดำ และมีงานอยู่ 2 งานที่สองคนนี้ทำได้คือ ปลูกผักและขุดดิน และแน่นอนว่าสองคนนี้มีความสามารถในการทำงานทั้ง 2 งานไม่เท่ากัน

โดยจำนวนงานที่ทั้ง 2 คนสามารถทำได้ใน 1 ชั่วโมงของแต่ละงานของนายแดงและนายดำ สามารถทำได้ตามตารางด้านล่าง:

ค่าเสียโอกาส คือ Opportunity Cost คือ ต้นทุน ค่าเสียโอกาส ตัวอย่าง
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบต้นทุนค่าเสียโอกาส

เมื่อเปรียบเทียนต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) จะได้ออกมาดังนี้

ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นเมื่อปลูกผัก

ค่าเสียโอกาสของนายแดงในการปลูกผัก 1 แปลง คือ การไม่สามารถขุดดิน 5 แปลง (10÷2)

ค่าเสียโอกาสของนายดำในการปลูกผัก 1 แปลง คือ การไม่สามารถขุดดิน 3 แปลง (12÷4)

ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นเมื่อขุดดิน

ค่าเสียโอกาสของนายแดงในการขุดดิน 1 แปลง คือ การไม่สามารถปลูกผัก 0.2 แปลง (2÷10)

ค่าเสียโอกาสของนายดำในการขุดดิน 1 แปลง คือ การไม่สามารถปลูกผัก 0.3 แปลง (4÷12)

จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการปลูกผักของนายดำต่ำกว่านายแดง และต้นทุนค่าเสียโอกาสในการขุดดินของนายแดงต่ำกว่านายดำ นั่นหมายความว่า เมื่อคิดจากต้นทุนค่าเสียโอกาส นายดำควรไปปลูกผัก และนายแดงควรไปขุดดินตามความสามารถสูงสุดของแต่ละคนนั่นเอง

ซึ่งแนวคิดของต้นทุนค่าเสียโอกาสในลักษณะนี้ยังถูกนำไปใช้กับแนวคิดในทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advatage) ซึ่งเป็นทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Theory) ของ David Ricardo

วิธีเปรียบเทียบ “ค่าเสียโอกาส”

สำหรับวิธีการเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสจากต้นทุนค่าเสียโอกาส เมื่อเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะสามารถสรุปเป็น 4 ขั้นตอน ได้ดังนี้:

  1. สร้างทางเลือก: สร้างทางเลือกทั้งหมดที่มีให้เลือก
  2. กำหนดเงื่อนไข: สร้างเงื่อนไขประโยชน์ที่ต้องการได้รับจากการตัดสินใจเลือก
  3. ประเมินค่าเสียโอกาส: ประเมินทางเลือกว่าถ้าหากเลือกทางเลือกหนึ่งตามเงื่อนไข จะเสียประโยชน์อะไรบ้างจากการไม่เลือกทางอื่น
  4. หาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด: เปรียบเทียบหาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด โดยเลือกทางที่เสียผลประโยชน์น้อยที่สุด

ทั้งนี้การประเมินค่าเสียโอกาสอาจจะไม่ได้วัดจากผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่อาจเป็นความเสี่ยงต่ำที่สุด เร็วที่สุด คุณภาพดีที่สุด เหนื่อยน้อยที่สุด ใช้วัตถุดิบางอย่างน้อยที่สุด หรือสบายใจที่จะทำมากที่สุดก็ได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด