หน้าแรก » ธุรกิจ » 7 QC Tools คืออะไร? เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด มีอะไรบ้าง

7 QC Tools คืออะไร? เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด มีอะไรบ้าง

บทความโดย safesiri
7 QC Tools คือ เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด เครื่องมือ 7 QC Tool

7 QC Tools คืออะไร?

7 QC Tools คือ เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด ที่ใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพในการดำเนินงาน ด้วยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในการดำเนินงาน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปสู่การหาทางแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง

เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด หรือ 7 QC Tools แต่ละเครื่องมือจะใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ซึ่งวิธีใช้ 7 QC Tools จะเป็นการเลือกเครื่องมือควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือเหมาะกับรูปแบบการดำเนินงานของบริษัท

สำหรับเครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิดของ ทฤษฎี 7 QC Tools ได้แก่ ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram), กราฟ (Graph), แผ่นตรวจสอบ (Check sheet), แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram), ฮีสโตแกรม (Histogram), แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram), และ แผนภูมิควบคุม (Control Chart) ซึ่งเราจะอธิบายแต่ละเครื่องมือในส่วนถัดไป

โดยในการใช้เครื่องมือ 7 QC Tools อาจจะใช้เพียงเครื่องมือเดียวหรือหลายเครื่องมือร่วมกันก็ได้ และแน่นอนว่าในกรณีทั่วไปไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิดพร้อมกันในการควบคุมคุณภาพและการค้นหาปัญหาเพียงเรื่องเดียว

กล่าวคือ 7 QC Tools คือกล่องเครื่องมือที่เปิดไปแล้วเจอเครื่องมืออยู่ 7 อย่าง บางปัญหาอาจใช้แค่ชิ้นเครื่องมือเดียวเพื่อซ่อมหรือตรวจสอบ แต่ในบางปัญหาอาจจะต้องใช้เครื่องมือหลายชิ้นประกอบกันก็ได้ขึ้นอยู่กับปัญหาที่พบ

ที่มาของ 7 QC Tools

7 QC Tools เป็นเครื่องมือควบคุมคุณภาพที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1954 ด้วยการพัฒนาและรวบรวมเครื่องมือสำหรับคุณภาพโดย Dr. Joseph M. Juran ที่ได้ถูกเชิญมายังประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น

นอกจากนี้ อีกชื่อหนึ่งที่เป็นเหมือนอีกชื่อหนึ่งของ 7 QC Tools คือ Benkei หรือ เบงเค นักรบญี่ปุ่น (ที่หลายคนอาจคุ้นเคยจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จากเกมและจากการ์ตูน) ที่พกอาวุธ 7 ชนิดสำหรับเลือกใช้ในการต่อสู้ จนสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้มากกว่า 1,000 คน

Check Sheet (แผ่นตรวจสอบ)

เครื่องมือแรกของ 7 QC Tools คือ Check Sheet เป็นแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลในการดำเนินงาน โดยทั่วไป Check Sheet จะอยู่ในรูปแบบของตาราง ที่ถูกออกแบบขึ้นมาตามความต้องการในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการของแต่ละงาน

สำหรับประโยชน์ของ Check Sheet คือ ใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานว่าเป็นไปตามกระบวนการหรือเงื่อนไขหรือไม่ (บางคนอาจเรียกว่า Check List) นอกจากนี้ Check Sheet ยังสามารถใช้ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการรวบรวมได้อีกด้วย

Check Sheet คือ 7 QC Tool ที่นับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายที่สุด เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน เป็นเพียงแค่การบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละหัวข้อของ Check Sheet

กราฟ (Graph)

กราฟเรียกได้ว่าน่าจะเป็นเครื่องมือ 7 QC Tools ที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยที่สุด โดยกราฟ (Graph) คือ แผนภูมิที่ใช้จุด แท่ง ภาพ หรือเส้น ใช้ในการแทนค่าของข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบแนวโน้ม

ประโยชน์ของ กราฟ (Graph) คือการใช้เป็นเครื่องมือเปรียบเทียบข้อมูล และแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละกลุ่ม อีกทั้งยังง่ายต่อการนำเสนอข้อมูลให้ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องได้ทำความใจ

แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)

แผนผังการกระจาย คือ แผนผังที่ใช้แสดงข้อมูลที่มีค่าตัวแปร 2 ตัว เป็น 7 QC Tools ที่ใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่มีทั้งหมดมีแนวโน้มไปในทิศทางใด

แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram) เกิดจากการนำข้อมูลจำนวนมากที่มี 2 ตัวแปรซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ที่เก็บได้มาพล็อตกราฟตามแกน x และ y ของข้อมูลแต่ละตัว

ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลของพนักงาน 25 คนในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ผลิตสินค้า 100 ชิ้นและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้า 100 ชิ้น (เมื่อพล็อตกราฟ Scatter Diagram ก็จะได้ตามกราฟด้านล่าง)

7 QC Tools คือ แผนผังการกระจาย คือ Scatter Diagram
ตัวอย่าง แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)

จากแผนผังการกระจาย (Scatter Diagram) จะเห็นว่ามีแนวโน้มอย่างมากที่เมื่อพนักงานของบริษัทนี้ใช้ระยะเวลาผลิตยิ่งน้อยยิ่งเกิดความผิดพลาดมากขึ้น (ดูจากความหนาแน่นของจุดว่าเกาะกลุ่มอยู่ส่วนไหนของกราฟ)

โดยจากการวิเคราะห์แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram) จะทำให้รู้ว่ายิ่งให้พนักงานทำเวลาก็ยิ่งเกิดความผิดพลาดในการผลิตมากขึ้น ดังนั้นบริษัทจำเป็นที่จะต้องวางมาตรฐานในการผลิตให้สมดุลระหว่างระยะเวลาและความแม่นยำในการผลิต

ฮีสโตแกรม (Histogram)

ฮีสโตแกรม หรือ Histogram คือ กราฟแท่งที่เรียงติดกันแต่ละแท่งใช้บอกความถี่จากการสุ่มตัวอย่าง ตัวอย่างเช่น จำนวนสินค้าเสียจากความผิดพลาดในการผลิตแต่ละวัน

ฮีสโตแกรม (Histogram) คือ 7 QC Tools ที่ใช้เมื่อต้องการวัดความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากกราฟแท่งเหล่านั้นจะแสดงให้เห็นความผิดปกติอย่างชัดเจนเมื่อมีบางอย่างผิดปกติ เช่น ปกติผลิตสินค้าเสียอยู่แค่ 90-100 ชิ้นต่อวัน แต่วันนี้มีสินค้าเสียมากถึง 260 ชิ้น

แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)

ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) รู้จักกันดีในอีกชื่อ คือ แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) เป็นเครื่องมือ 7 QC Tools ที่ใช้ในการหาเหตุและผลที่เป็นที่มาของปัญหาในการดำเนินงาน

โดยการเขียนและเหตุและผลลงใน แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่นำไปสู่ปัญหา ตัวอย่างเช่น ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง มาจากความผิดพลาดในการผลิต ซึ่งเกิดจากการที่พนักงานไม่เข้าใจวิธีการผลิตที่ถูกต้อง

แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram)

แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram) คือ แผนภูมิอีกแบบหนึ่งของ 7 QC Tools ที่ใช้แสดงปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต พร้อมกับจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น และแสดงสัดส่วนของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละปัญหา

Pareto Diagram คือ 7 QC Tools เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด
ตัวอย่าง Pareto Diagram หรือ แผนผังพาเรโต

แผนผังพาเรโตจะเป็นกราฟแท่งที่ประกอบด้วย 1 แกนนอนและ 2 แกนตั้ง โดยแกนตั้งด้านซ้ายแสดงจำนวนความผิดพลาดในการผลิต ส่วนแกนตั้งแกนที่ 2 แสดงเปอร์เซ็นต์สะสม โดยกราฟแท่งเรียงจากแท่งที่สูงไปหาต่ำ (ซ้ายไปขวา)

จากตัวอย่างจะเห็นว่าปัญหาแรกจากแผนผังพาเรโต (Pareto Diagram) มีสัดส่วนความผิดพลาดที่สูงที่สุด (เกือบ 75%) ซึ่งชัดเจนว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องรีบแก้ที่สุด

แผนภูมิควบคุม (Control Chart)

แผนภูมิควบคุม (Control Chart) คือ 7 QC Tools ที่เป็นเครื่องมือทางสถิติสำหรับควบคุมกระบวนการผลิตที่ตรวจสอบความผิดพลาดในการผลิต ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ากระบวนการอยู่ในการควบคุมหรือไม่

โดย Control Chart จะเป็นการสุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปคำนวณ (ซึ่งเราจะเขียนบทความในอนาคต) แล้วนำข้อมูลที่ได้พล็อตลงกราฟ เพื่อหาว่ามีจุดที่อยู่นอกเส้นการควบคุมเหมือนกับในภาพตัวอย่างด้านบนหรือไม่ จุดที่อยู่นอกเส้นการควบคุมจะหมายความว่ากระบวนการผลิตมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น

7 QC Tools คือ Control Chart เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด
ตัวอย่าง Control Chart หรือ แผนภูมิควบคุม

จะเห็นว่าในภาพรวม 7 QC Tools เป็นเครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด สำหรับการควบคุมและพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานด้วยการรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลเหล่าไปวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานหรือปัญหาขององค์กรที่กำลังเกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละเครื่องมือเหมาะสำหรับใช้รวบรวมข้อมูลหรือวิเคราะห์หาปัญหาในลักษณะที่แตกต่างกัน และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทุกเครื่องมือพร้อมกันในแต่ละปัญหา

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด