หน้าแรก » ธุรกิจ » Fixed Cost คืออะไร? ต้นทุนคงที่มีอะไรบ้าง

Fixed Cost คืออะไร? ต้นทุนคงที่มีอะไรบ้าง

บทความโดย safesiri
ต้นทุนคงที่ คือ อะไร ต้นทุน Fixed Cost ต้นทุนคงที่ มีอะไรบ้าง ลดต้นทุนคงที่

Fixed Cost คือ ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนประเภทที่จะไม่แปรผันไปตามปริมาณการผลิตไม่ว่าผู้ผลิตจะผลิตสินค้ามากหรือน้อยเท่าใด โดย Fixed Cost หรือต้นทุนคงที่ คือต้นทุนที่จะไม่เพิ่มและไม่ลดลงตามปริมาณการผลิต (Quantity) ไม่ว่าจะผลิตสินค้ากี่หน่วย หรือแม้แต่ไม่ผลิตก็ยังคงทำให้เกิดต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เท่าเดิมต่อไป

ตัวอย่างของ Fixed Cost หรือ ต้นทุนคงที่ ที่ง่ายที่สุดคือต้นทุนค่าเช่าโรงงาน ที่ถ้าหากโรงงานผลิตสินค้ามีค่าเช่าโรงงาน 1,000,000 บาทต่อเดือน ไม่ว่าผู้ผลิตจะผลิตสินค้า 1,000 ชิ้น หรือ 100 ชิ้น ผู้ผลิตก็ต้องจ่ายค่าเช่า 100,000 บาทนั้นทุกเดือน

อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้ามากขึ้นจะทำให้มีต้นทุนเฉลี่ยที่ลดลง เนื่องจากจำนวนหน่วยสินค้าที่มากขึ้นก็จะทำให้ตัวหารต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยในการผลิตสินค้าลดลง

จากตัวอย่างเดิม การผลิตสินค้า 1,000 ชิ้นหมายความว่าต้นทุนเฉลี่ยของสินค้าที่เกิดจาก ต้นทุนคงที่ คือ 100 บาทต่อชิ้น (100,000 บาท ÷ 100 ชิ้น) แต่การผลิตสินค้า 100 ต้นทุนเฉลี่ยของสินค้าที่เกิดจาก ต้นทุนคงที่เป็น 1,000 บาทต่อชิ้น เนื่องจากตัวหารน้อยลง (100,000 บาท ÷ 100 ชิ้น)

ทั้งนี้ แม้จะบอกว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือต้นทุนประเภทที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนการผลิต แต่ในความเป็นจริงต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไปในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น เมื่อตอนเปิดบริษัทใหม่ลูกค้ายังน้อยผลิตไม่เกิน 1 แสนชิ้นจึงใช้เครื่องจักร 1 เครื่องในการผลิต แต่เมื่อธุรกิจเติบโตการสั่งซื้อจึงมากขึ้นเป็น 2 แสน เครื่องจักรเครื่องเดียวไม่เพียงพอต่อการผลิตอีกต่อไปจึงทำให้ต้องใช้เครื่องจักรเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ต้นทุนคงที่เปลี่ยนแปลงไป

กราฟต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)

ความสัมพันธ์ระหว่าง ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) กับจำนวนสินค้าที่ผลิต (Quantity) ตามที่ได้อธิบายในตอนต้นสามารถเขียนเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการผลิต (Quantity) กับต้นทุน (Cost) ได้เป็นกราฟต้นทุนคงที่ ดังนี้

ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุน Fixed Cost คือ กราฟ Fix Cost
กราฟต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)

จากกราฟต้นทุนคงที่ (Fixed Cost Graph) ด้านบนจะเห็นว่า ในระยะเวลาหนึ่งแม้ว่าจะเพิ่มจำนวนการผลิตสินค้า (Quantity) มากแค่ไหน ตัวเลขต้นทุนคงที่โดยรวม (Cost) ก็จะยังไม่เปลี่ยนไป

ดังนั้น การผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากจึงสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยที่เกิดจากต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) ส่วนนี้ลงได้ เรียกว่า Economies of Scale หรือ การประหยัดต่อขนาด ที่การผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลงจาก Fixed Cost เฉลี่ยต่อหน่วยที่ลดลง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้บริษัทที่มักจะมีต้นทุนคงที่สูง คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากตามขนาดบริษัท ส่งผลให้บริษัทอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักและโรงงานที่ใหญ่ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า อย่างไรก็ตามแม้ว่าต้นทุนคงที่จะสูงด้วยเหตุผลข้างต้น แต่บริษัทใหญ่เหล่านี้ก็จะชดเชยด้วยการผลิตสินค้าจำนวนมหาศาล เพื่อลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลงด้วย Economies of Scale

ต้นทุนคงที่ มีอะไรบ้าง?

ลักษณะสำคัญที่ใช้ในการแยกต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือ ต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะผลิตสินค้ามากหรือผลิตน้อย ตัวอย่างของต้นทุนคงที่ที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่:

  • ค่าบำรุงรักษาอาคาร
  • ค่าเสื่อมราคา
  • ค่าเช่าอาคารสำนักงาน
  • ค่าเช่าโรงงาน
  • ค่าเบี้ยประกัน

นอกจากนี้ ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนคงที่ระยะสั้น (Discretionary Fixed Cost) และต้นทุนคงที่ระยะยาว (Committed Fixed Cost) ตามระยะเวลาที่ต้นทุนคงที่ดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลงไป

ต้นทุนคงที่ระยะสั้น (Discretionary Fixed Cost) คือ ต้นทุนคงที่ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไปในระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ค่าโฆษณา ที่ไม่ว่าจะผลิตกี่ชิ้นค่าโฆษณาก็ยังคงมีจำนวนเท่าเดิม แต่การโฆษณาสินค้าก็อาจจะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อการโฆษณาสิ้นสุดลงต้นทุนคงที่จากค่าโฆษณาก็จะหายไป

ต้นทุนคงที่ระยะยาว (Committed Fixed Cost) คือ ต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลงในระยะยาว ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าโรงงานระยะยาว ที่ถ้าหากทำสัญญาในระยะยาวอาจได้ราคาที่ถูกกว่า แต่เมื่อเกิดการต่อสัญญาเช่าใหม่ในปีถัดไปอาจมีค่าเช่าโรงงานที่สูงกว่าเดิม ส่งผลให้ต้นทุนคงที่จากโรงงานเพิ่มขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด