หน้าแรก » การตลาด » กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ คืออะไร? Product Strategy เกี่ยวกับอะไรบ้าง

กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ คืออะไร? Product Strategy เกี่ยวกับอะไรบ้าง

บทความโดย safesiri
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ คือ Marketing Mix Product Strategy คือ 4P Product

กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ คือ กลยุทธ์เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์หรือ Product Strategy คือกลยุทธ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Feature) ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ (Package) และฉลาก (Label)

โดยผลิตภัณฑ์ตาม Product Strategy ของ Marketing Mix ใจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible) กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible)

ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible) คือ สินค้าทั่วไป (Goods) ที่สามารถจับต้องได้ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ อาหาร เครื่องสำอาง

ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible) คือ บริการ (Service) เป็นประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับเมื่อใช้บริการ อย่างเช่น ไอเดีย เกม ประกันชีวิต การว่าจ้างทนาย โรงแรม และการใช้บริการสายการบิน

แต่อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) ไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่ในประเด็นว่าจะขายอะไร แต่สิ่งที่กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ครอบคลุมไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible) หรือผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible) จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  1. คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Feature)
  2. บรรจุภัณฑ์ (Package)
  3. ฉลากของผลิตภัณฑ์ (Label) หรือกระบวนการให้บริการ (Process)

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Feature)

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ (Feature) เป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเมื่อพูดถึง Product เนื่องจากเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดที่ทุก Product ต้องมี เพราะคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์คือสิ่งที่แก้ปัญหาให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปใช้

ในการทำแผนการตลาดในส่วนของ Product นักการตลาดต้องระบุให้ได้ว่าจะนำเสนออะไรให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ความทนทานของผลิตภัณฑ์ การที่สามารถใช้งานได้ตามคำโฆษณา ความสามารถที่เหนือกว่าสินค้าอื่น ความแตกต่างจากสินค้าอื่น หรือคุณภาพที่เหมาะสมกับราคา

บรรจุภัณฑ์ (Package)

บรรจุภัณฑ์ (Package) คือ เรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อของสินค้า ได้แก่ การออกแบบรูปร่างของหีบห่อ การเลือกสีที่เหมาะสม และการบรรจุสินค้าลงในแพคเกจในจำนวนที่เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น คอนแทคเลนส์รายวันแบบแพคใส่กล่อง 30 ชิ้นขายในราคาที่ถูกกว่า สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ทุกวัน

สำหรับธุรกิจบริการบรรจุภัณฑ์ (Package) เทียบได้กับ Physical Evidence ของสถานที่ที่ให้บริการของแบรนด์ อย่างเช่น ห้องของโรงแรม และภูมิทัศน์ของร้านอาหาร

ฉลาก (Label)

ฉลาก (Label) คือ สิ่งที่ใช้บอกรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น Logo ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ปริมาณ และรายละเอียดต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายของแต่ละประเทศระบุให้กำหนดเอาไว้บนฉลาก

โดยส่วนมากรายละเอียดของฉลากจะเป็นการระบุตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดให้ระบุ อย่างเช่นการที่บางประเทศจะบังคับให้ฉลากต้องมีภาษาท้องถิ่นทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ ลักษณะของการทำฉลากที่ดีควรจะทำให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย (Target) ของสินค้า อย่างเช่น สินค้าที่จับกลุ่มลูกค้าที่ชอบข้อมูล ก็ควรจะมีรายละเอียดของสินค้าครบถ้วน

สำหรับธุรกิจบริการแม้ว่าจะไม่มีเรื่องของฉลากเข้ามาเกี่ยวข้องในกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ เพราะตัวสินค้าหรือผลที่ลูกค้าได้รับเกิดขึ้นระหว่างการให้บริการ ดังนั้นส่วนสำคัญที่สำคัญมากพอกันกับฉลากในธุรกิจบริการก็คือกระบวนการการให้บริการ (Process) ที่ควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อที่ลูกค้าทุกคนจะได้รับบริการที่เหมือนกันและเป็นไปตามมาตรฐานอย่างที่ควรจะเป็น

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด