หน้าแรก » ธุรกิจ » Value Chain คืออะไร? ห่วงโซ่คุณค่า มีอะไรบ้าง

Value Chain คืออะไร? ห่วงโซ่คุณค่า มีอะไรบ้าง

บทความโดย safesiri
Value Chain คือ ห่วงโซ่คุณค่า คือ ทฤษฎี มีอะไรบ้าง Primary Activities Support Activities

Value Chain คือ ห่วงโซ่คุณค่า เป็นแนวคิดที่ใช้สำหรับทำความใจในแต่ละหน่วยงานภายในองค์กร ตั้งแต่นำวัตถุดิบเข้ามาจนถึงผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปว่าองค์กรสามารถสร้างคุณค่า (Create Value) ให้กับลูกค้าได้อย่างไรบ้าง

โดย Value Chain หรือห่วงโซ่คุณค่าจะแบ่งกิจกรรมที่สร้างคุณค่าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และ กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่า Value Chain จากการที่ทุกกิจกรรมมีความสัมพันธ์กันเหมือนห่วงโซ่

กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ของ Value Chain คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าโดยตรงและการขายสินค้าให้กับลูกค้า ได้แก่

  1. Inbound Logistics คือ กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้า
  2. Operations คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตและการดำเนินงาน
  3. Outbound Logistics คือ กิจกรรมโลจิสติกส์ขาออก
  4. Marketing and Sales คือ กิจกรรมทางการตลาดและการขาย
  5. Services คือ การให้บริการ (หลังการขาย)

กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ของ Value Chain คือ กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมที่เป็นส่วนเสริมของทุกส่วนในองค์กร

  1. Procurement คือ การจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า
  2. Technology Development คือ กิจกรรมเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาสินค้า บางครั้งเรียกว่า Research and Development หรือ R&D
  3. Human Resource Management คือ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร
  4. Firm Infrastructure คือ กิจกรรมพื้นฐานขององค์กรต่างๆ เช่น การบริหาร การเงิน และการบัญชี

สำหรับผลลัพธ์ของห่วงโซ่คุณค่าหรือ Value Chain เป็นสิ่งที่จะวัดจากความพึงพอใจของลูกค้า หรือการที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการมากน้อยแค่ไหน

แผนภาพ Value Chain หรือ ห่วงโซ่คุณค่า แสดงให้เห็นว่าทุกกิจกรรมจบลงที่สร้างกำไร (Margin)

ที่มาของทฤษฎี Value Chain คือแนวคิดที่มาจากหนังสือ Competitive Advantage ของ Michael E. Porter จากมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง Five Forces Model

กิจกรรมหลัก (Primary Activities)

Primary Activities หรือ กิจกรรมหลัก ของ Value Chain คือ กิจกรรมเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค พูดให้ง่ายกว่านั้น กิจกรรมหลัก (Primary Activities) เรื่องเกี่ยวกับการผลิตและการขาย

โดย Value Chain ในส่วนของ กิจกรรมหลัก หรือ Primary Activities ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้:

Inbound Logistics (โลจิสติกส์ขาเข้า) คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการได้รับวัตถุดิบ การขนส่ง การจัดการสินค้าคงเหลือ การแจกจ่ายวัตถุดิบไปยังแต่ละส่วนของการผลิต

Operations (การดำเนินงาน) คือ กิจกรรมเกี่ยวกับการผลิต (รวมถึงขั้นตอนการผลิต) การแปรรูปวัตถุดิบออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งการบรรจุสินค้าเพื่อเตรียมขสย

Outbound Logistics (โลจิสติกส์ขาออก) คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดจำหน่าย กระจายสินค้า จัดเก็บสินค้าเพื่อรอการกระจายสินค้า และการรวบรวมสินค้าฐานการผลิตเพื่อนำไปกระจายอีกที

Marketing and Sales คือ กิจกรรมทางการตลาดเพื่อการจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า พูดง่ายๆ ก็คือกิจกรรมทที่ทำให้สินค้าขายออก อย่างเช่น การโฆษณา การสร้างแบรนด์ การสร้างภาพลักษณ์ในกับแบรนด์ และ การเลือกช่องทางการจัดจาหน่าย เป็นต้น

Services คือ กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าด้วยการให้บริการหลังการขาย เช่น การสาธิตและให้คำแนะนำวิธีใช้งาน การช่วยเหลือในการติดตั้งสินค้า และ การรับประกันสินค้า เป็นต้น

กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)

กิจกรรมสนับสนุน หรือ Support Activities คือ กิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลัก และสนับสนุนกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ ใน Value Chain ให้สามารถดำเนินไปได้ กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ประกอบด้วย 4 ดังนี้

Procurement คือ การจัดซื้อจัดหาเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมหลัก ซึ่งการจัดซื้อจัดหาที่ดีจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้า รวมถึงทำให้ได้วัตถุดิบที่ดี

Technology Development คือ กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี (วิจัยและพัฒนานั่นแหละ) ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ

Human Resource Management คือ กิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่วิเคราะห์งาน สรรหาและคัดเลือกให้ตรงความต้องการ ประเมินผล พัฒนา ฝึกอบรม ค่าตอบแทน ฯลฯ

Firm Infrastructure คือ โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ประกอบด้วย การบริหารจัดการภายในองค์กร บัญชี การเงิน


การวิเคราะห์ Value Chain

การวิเคราะห์ Value Chain Analysis คือ การวิเคราะห์ที่ผู้วิเคราะห์จะต้องอธิบายให้ได้ว่าในแต่ละกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรมขององค์กรทำอะไรบ้าง และต้องรู้ว่าสามารถสร้างคุณค่าจากกิจกรรมนั้นได้อย่างไร (และสร้างคุณค่าได้มากน้อยแค่ไหน)

อย่างไรก็ตาม คุณค่า (Value) ของ Value Chain ในแต่ละประเด็นอาจมีความหมายที่ต่างกันในแต่ละมุมมอง ตัวอย่างเช่น มุมมองของลูกค้าบางคนคุณค่าอาจเป็นสินค้ามีคุณภาพดีกว่า แต่ในมุมมองของอีกคนคุณค่าคือการที่สินค้าที่มีราคาถูก (คุ้มค่า)

ดังนั้น การสร้าง Value ที่ดีก็ควรที่จะต้องคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าของธุรกิจด้วย ว่าธุรกิจมีลูกค้าเป็นคนกลุ่มไหน ต้องการอะไร และลูกค้ากลุ่มดังกล่าวมองว่าอะไรคือคุณค่าที่ต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด