หน้าแรก » การเงิน » งบแสดงฐานะการเงิน คืออะไร? (Statement of Financial Position)

งบแสดงฐานะการเงิน คืออะไร? (Statement of Financial Position)

บทความโดย safesiri
งบแสดงฐานะการเงิน คือ บัญชี งบดุล คือ ตัวอย่าง Statement of Financial Position

งบแสดงฐานะการเงิน คืออะไร?

งบแสดงฐานะการเงิน คือ งบการเงินที่แสดงถึงโครงสร้างทางการเงินของบริษัทและแสดงความเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยภายในงบแสดงฐานะการเงินจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

โดยแต่ละส่วนของงบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) เป็นสิ่งที่แสดงรายละเอียด ดังนี้

กล่าวคือ งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ งบดุล (Balance Sheet) เป็นบัญชีที่ใช้แสดงความมั่งคั่งและพื้นฐานเงินทุนในการดำเนินธุรกิจของกิจการ ที่แสดงให้เห็นว่ากิจการมีเงินลงทุนจากเจ้าของเท่าไหร่ มีสินทรัพย์อยู่เท่าไหร่ และเงินทุนของกิจการมาจากการก่อหนี้เท่าไหร่

โดยประโยชน์ของงบแสดงฐานะการเงินต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่อ่านงบแสดงฐานการเงิน ไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน เจ้าของกิจการ คู่ค้า ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับ คือ การใช้งบแสดงฐานะการเงินเป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินโครงสร้างทางการเงินของบริษัทจากการประเมินสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ตัวอย่างเช่น บริษัทมีสินทรัพย์และหนี้สินมากน้อยแค่ไหน สินทรัพย์ที่มีมีที่มา่จากไหน ความสามารถในการเปลี่ยนลูกหนี้การค้าเป็นเงินสด และการเปลี่ยนแปลงของส่วนของเจ้าของ เป็นต้น

วิธีทำงบแสดงฐานะการเงิน

งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) หากแบ่งประเภทตามวิธีทำงบแสดงฐานะการเงิน จะสามารถแบ่งประเภทได้ 2 รูปแบบ คือ งบแสดงฐานะการเงินแบบบัญชี และงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน

  • แบบบัญชี — แบ่งงบแสดงฐานะการเงินออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายเป็นรายการสินทรัพย์ ส่วนฝั่งขวาจะเป็นรายการหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
  • แบบรายงาน — เป็นงบแสดงฐานะการเงินที่เขียนเรียงลงมาเริ่มจากสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

ทั้งนี้ แม้วิธีทำงบแสดงฐานะการเงินทั้ง 2 วิธีจะต่างกัน แต่ผลลัพธ์ของงบแสดงฐานะการเงินทั้ง 2 แบบจะเหมือนกัน โดยตัวอย่างในบทความนี้จะเป็นแบบวิธีทำงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน

โดยผลรวมของงบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) จะเป็นไปตามสมการบัญชี (Accounting Equation) คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์ – หนี้สิน

งบแสดงฐานะการเงิน แบบรายงาน

ในการทำงบแสดงฐานะการเงิน แบบรายงาน จะเริ่มต้นจากการเขียนหัวกระดาษทุกครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ชื่อบริษัท
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

โดยในแต่ละบรรทัดที่เขียนรายการ (สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ) จะเขียนรายการและตัวเลข ตามตัวอย่างด้านล่าง

เงินสดและรายการเงินสดเทียบเท่าเงินสด                                         4,789.1

และเขียนรายการบัญชีเรียงลงไปทีละหมวดหมู่ เริ่มจากหัวข้อสินทรัพย์ ตามด้วยหนี้สิน และจบด้วยส่วนของเจ้าของ และรวมทุกครั้งที่บรรทัดสุดท้ายของแต่ละหัวข้อ ตามตัวอย่างรูปแบบการเขียนงบแสดงฐานะการเงินแบบรายงาน

สินทรัพย์ (Assets)

สินทรัพย์ (Assets) แยกออกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ในการทำงบแสดงฐานะการเงินในส่วนของสินทรัพย์ สินทรัพย์จะต้องจัดเรียงตามสภาพคล่องของสินทรัพย์ (อะไรที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ไวกว่าจะเขียนเอาไว้ก่อน)

งบแสดงฐานะการเงิน แบบรายงาน คือ ตัวอย่าง สินทรัพย์ ส่วนของเจ้าของ บัญชี

หนี้สิน (Liabilities)

หนี้สิน (Liabilities) จะแยกออกเป็นหนี้สินหมุนเวียนกับหนี้สินไม่หมุนเวียน ในส่วนของหนี้สินก็จะคล้ายกับสินทรัพย์ที่ต้องมีการจัดเรียง โดยหนี้สินจะจัดเรียงตามระยะเวลาใช้คืน หนี้ที่ต้องใช้คืนก่อนจะแสดงอยู่ด้านบน

โดยในการลงบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ จะเริ่มจากหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน และส่วนของเจ้าของ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่าสินทรัพย์

ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equities)

ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equities) จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของกิจการ อย่างเช่น กรณีของบริษัทจะเรียกส่วนของเจ้าของว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น”

โดยผลรวมของส่วนของเจ้าของจะต้องเท่ากับ สินทรัพย์ – หนี้สิน ตาม “สมการบัญชี” ซึ่งถ้าไม่เท่าหมายความว่าบัญชีดังกล่าวมีบางอย่างที่ไม่ถูกต้องอยู่

งบแสดงฐานะการเงิน คือ งบดุล แบบรายงาน ตัวอย่าง หนี้สิน

ทั้งนี้ สามารถดูตัวอย่างงบแสดงฐานะการเงินของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET.or.th) โดยเลือกบริษัทที่ต้องการ จากนั้นไปที่หน้าของแต่ละบริษัทและไปที่แถบ “งบการเงิน/ผลประกอบการ” เลือก “แบบ 56-1 ล่าสุดปี 25xx” เพื่อดาวน์โหลดแบบ 56-1 ในปีดังกล่าว โดยภายในแบบ 56-1 จะประกอบด้วยไฟล์เอกสารหลายไฟล์ ซึ่งตามปกติงบแสดงฐานะการเงินไฟล์จะชื่อว่า FINANCIAL_xxxx

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด