หน้าแรก » การลงทุน » พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ คืออะไร? ต่างจากพันธบัตรทั่วไปยังไง

พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ คืออะไร? ต่างจากพันธบัตรทั่วไปยังไง

บทความโดย safesiri
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ คือ อะไร กลไก พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ TIPS Bonds

พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ คือ พันธบัตรรัฐบาลประเภทหนึ่งที่ออกโดยกระทรงการคลัง โดยพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจะแตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลทั่วไปในส่วนของการที่เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อนอกจากนักลงทุนจะได้รับเงินต้นคืนแล้วจะได้เงินตามระดับเงินเฟ้อด้วย

โดยระดับเงินเฟ้อดังกล่าวของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจะอ้างอิงจาก Consumer Price Index (CPI) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เป็นตัวเลขที่ใช้สะท้อนระดับเงินเฟ้อของเศรษฐกิจว่าราคาสินค้าโดยรวมในระบบเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนจากช่วงเวลาก่อนหน้า

ในทางกลับกัน เมื่ออยู่ในภาวะเงินฝืด (Deflation) ที่หมายถึงอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับติดลบ ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยรวมในเศรษฐกิจลดลง พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อก็จะทำให้เงินต้นลดลงเช่นกัน เนื่องจากไม่ได้มีการปรับมูลค่าตามและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Interest Rate)

ทั้งหมดทำให้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจึงเป็นสิ่งที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ (Risk-free Investment) เพื่อรักษากำลังซื้อในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ และได้ผลตอบแทนเป็น Real Yield หรือ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง

สำหรับในประเทศไทยเองก็มีพันธบัตรรัฐบาลที่มีลักษณะเทียบเท่ากับพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเช่นกัน ซึ่งมีชื่อว่า Inflation-Linked Bond (ILB)

การติดตามพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อบอกอะไร?

นอกจาก พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจะเป็นการลงทุนในการป้องกันความเสี่ยงต่อกำลังซื้อ (Purchasing Power) จากเงินเฟ้อ การติดตามการไหลเข้าของกระแสเงินลงทุน (Fund Flow) สู่ตราสารที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อได้ อย่างพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อและตราสารหนี้ระยะสั้น บางครั้งยังช่วยให้เห็นมุมมองของนักลงทุนส่วนใหญ่ต่อคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในอนาคต

กล่าวคือ ยิ่งนักลงทุนในความสนใจกับพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความกังวลต่อระดับเงินเฟ้อในอนาคตอันใกล้

จุดอ่อนของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ

พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ ตามที่ได้อธิบายมาในตอนต้น แม้ว่าจะดูเป็นการลงทุนที่ดูมีแต่ข้อดี เนื่องจากช่วยปิดความเสี่ยงของมูลค่าเงินต้นที่จะลดลงในอนาคตเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือรักษามูลค่าของเงินให้กับนักลงทุนได้ในภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ในขณะที่มีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากเป็น “หนี้” ที่มีผู้กู้เป็นรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะไม่ล่มสลายอย่างง่ายดายแน่นอน

แต่ด้วยข้อดีเหล่านี้ ทำให้สิ่งที่ต้องจ่ายเป็นข้อแลกเปลี่ยนก็คืออัตราดอกเบี้ย (Coupon Rate) ของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่จะต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบอื่น ๆ

นอกจากนั้น การที่ Consumer Price Index (CPI) ถูกวัดออกมาเป็นค่าเฉลี่ยจากสินค้าหลาย ๆ ชนิดในตระกร้าที่ราคาสินค้าแต่ละชนิดมีน้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป เพื่อนำมาใช้เป็นตัวเลขอ้างอิงคร่าว ๆ ของสภาพเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

ดังนั้นแล้ว หากพูดแบบเป็นกลาง Consumer Price Index (CPI) แม้ว่าจะวัดระดับเงินเฟ้อในภาพรวมได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของทุกท่านอาจแย่กว่าตัวเลข CPI ที่ออกมาเนื่องจากตัวเลข CPI ไม่มีทางออกมาเท่ากับความเป็นจริง

นั่นหมายความว่า ในกรณีที่เงินเฟ้อในความเป็นจริงแตกต่างกับตัวเลขในทางทฤษฎีหรือตัวเลข CPI มาก การทิ้งเงินไว้ในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อไม่ได้ช่วยให้คุณชนะเงินเฟ้อได้อย่างขาดลอยแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันเราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการพักเงินลงทุนเอาไว้ใน พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ คือ สิ่งที่จะช่วยรักษากำลังซื้อของเราเอาไว้ในภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ได้ดีกว่าการปล่อยเงินทิ้งเอาไว้เฉย ๆ เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ปรับตั้งค่าปฏิเสธ Cookies ยินยอม ดูรายละเอียด